recyclechon.com=>
นานาสาระ ->
เทคนิคการย้ายเครื่องจักร
| |||||||
อื่นๆที่คล้ายกัน |
เทคนิคการย้ายเครื่องจักร
จำนวนผู้เข้าชม : 6499 คน
รายละเอียด
เทคนิคการย้ายเครื่องจักร ประเภท : นานาสาระ ก่อนหน้านี้ก็มีโรงงานอยู่โรงงานนึง เขาต้องการที่จะขายเครื่องปั๊มเหล็ก เขาก็พาผมเข้าไปดูเครื่องจักร เป็นเครื่องปั๊มผมกะน้ำหนักประมาณตัวละ 2 ตัว น้ำหนักประมาณตัวละ 2000 กิโลกรัม นะครับผม เครื่องจักรเขาจะอยู่ในโรงงาน แล้วก็จะมีกำแพงกั้น เราไม่สามารถเอาออกได้เลยนะครับ ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการเอาเครื่องจักรออกนะครับ ผมอธิบายให้ฟังว่าขั้นตอนการทำงานของผมเป็นอย่างไร เครื่องจักรจะอยู่ในส่วนของโรงงาน จะมีทางเข้าอยู่ทางด้านขวามือ เครื่องจักรจะอยู่ซ้ายมือติดกำแพง 2 ตัว เวลาขนย้ายออก ผมจะต้องย้ายเครื่องจักรมาตรงฝั่งประตู และเอาแป๊บรองเพื่อเอาเฮี๊ยบลากเครื่องจักรมาที่โล่ง แล้วทำการใช้รถเฮี๊ยบทำการยกเครื่องจักร จริงๆแล้วผมไม่มีประสบการณ์การย้ายเครื่องจักรเลยนะครับ ก็เลยไปขอคำปรึกษาจากเพื่อน ซึ่งมีเพื่อนอยู่ท่านหนึ่ง เขารับย้ายเครื่องจักร แล้วเขาก็ให้คำตอบว่าในกรณีแบบนี้จะต้องดีดขึ้นจากให้ลอยขึ้นแล้วเอาเต่าลองได้เครื่องจักรแล้วลากออกมา เต่าก็จะเป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมอยู่ด้านบนมีความหนาประมาณ 10 mm แล้วจะมีล้อด้านล่าง 4 มุมล้อตัวนี้จะหมุนรอบสละ 360 องศาเพื่อที่ว่าสามารถลากเครื่องจักรออกมาได้ เขาก็เลยแนะนำประมาณนี้ ผมก็เลยขอยืมเครื่องมือเข้ามาใช้ ทีแรกก็ไม่รู้จะทำยังไงดีนะที่เพื่อนให้คำตอบมา เครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายเครื่องจักร
เริ่มแรกเดิมทีเลยที่เข้าไปเอาเครื่องจักรก็จะเอาแท่นแม่แรง สอดเข้าใต้เครื่องจักรและทำการยกดีดขึ้นมาเอาขอนไม้รอง เมื่อลองได้ระดับแล้ว ก็จะเอาเต่าทำการเสียบเข้าไปแล้วลากออกมา พอถึงประตู ก็จะเอาแป๊บลอง แล้วเอาเฮี๊ยบลากออกมา ให้อยู่บริเวณพื้นที่โล่ง แล้วก็นำรถสิบล้อ 2 คันมาช่วยทำการยกขึ้น กรณียกลงผมก็จะใช้เฮี๊ยบยกลงเหมือนกัน ในส่วนเครื่องจักรนี้ ซึ่งมันจะมีตัวที่ใช้ได้อยู่และจะมีตัวที่ใช้ได้อยู่ 1 ตัวและตัวใช้ไม่ได้อยู่ 1 ตัว เวลาผมขายผมก็จะขายเหมารวม 2 ตัวเลย เพราะว่าถ้าแยกขายทีละตัวตัวที่ใช้ได้จะขายได้ก่อนส่วนตัวที่ใช้ไม่ได้ก็จะขายไม่ได้ ทำให้เราไม่สามารถขายได้ ผมก็จะมีทิคเสริมสำหรับเพื่อนๆ ในการขนย้ายเครื่องจักรก็ได้ส่วนแรกของผมเลยก็คือจะต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 เพราะถือว่าบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นทีมงาน ของคนไทยหรือทีมงานต่างชาติก็แล้วแต่ ส่วนเรื่องที่ 2 คือในส่วนของการประเมินราคา มีอยู่ว่าถ้าเป็นเครื่องจักรที่นิยมใช้ พื้นฐาน ทักษะช่างทั่วไป เช่นเครื่องเชื่อม เครื่องตัดไฟเบอร์ เครื่องกลึง เครื่องมิลลิ่ง พวกนี้จะเป็นเครื่องจักรพื้นฐานถ้าสามารถใช้ได้แล้วก็จะตีให้สูงนิดนึงเพราะว่ามันจะขายง่ายมีคนมีความต้องการสูง ส่วนเครื่องจักรใหญ่ๆที่เป็นงานเฉพาะด้าน ใช้งานได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ตัวนี้ผมก็จะตีราคาเป็นเศษเหล็ก เนื่องจากว่าจนกว่าที่เราจะขายได้ จนกว่าจะหาลูกค้ามาซื้อได้ต้องใช้ระยะเวลานาน หรือบางครั้งเครื่องอาจจะเสียก่อนเพราะเราไม่ได้วอร์มเครื่องไม่ได้ใช้เครื่อง และอีกอย่าง เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ เวลาขนย้ายเราจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเช่นรถขนย้าย เครนสำหรับยก เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่มากๆจนถึงขนาดเราต้องเปิดหลังคาโรงงาน ซึ่งเราจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายให้ดี สรุปง่ายๆเลยคือถ้าเป็นเครื่องจักรพี่ไม่ค่อยนิยมใช้ถ้าขนาดยิ่งใหญ่ราคาก็จะยิ่งถูกลง ราคาถูกลงมานะครับเพราะว่ามันจะต้องมีค่าบริหารจัดการเยอะ แล้วก็การตัดการย่อยในการส่งเข้าเตาหลอม ขายเป็นเศษเหล็กหล่อก็จะทำได้ยากมีค่าใช้จ่ายสูง ก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยเรา เพื่อนๆสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้กับร้านรับซื้อของเก่าของท่านได้นะครับขอให้ทุกท่านโชคดีสวัสดีครับ เมื่อวันที่ : 2019-04-26 21:07:50 |